ความเป็นมาของผ้าไหมแพรวากาฬสินธ์
ประวัติ
ผ้าแพรวา เป็นชื่อเฉพาะที่เรียกผ้าชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในงานเทศกาล บุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่นๆ เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ แพร หมายถึง ผ้า วา หมายถึงความยาวของผ้า 1 วา คำว่า แพรวา จึงมีความหมายว่า ผ้าที่มีความยาวประมาณ 1 วา
ผ้าแพรวา เป็นชื่อเฉพาะที่เรียกผ้าชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือห่มสไบเฉียงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในงานเทศกาล บุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่นๆ เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ แพร หมายถึง ผ้า วา หมายถึงความยาวของผ้า 1 วา คำว่า แพรวา จึงมีความหมายว่า ผ้าที่มีความยาวประมาณ 1 วา
ชาวผู้ไทย เป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากประเทศจีนตอนใต้ ข้ามแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่แถบเทือกเขาภูพาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยยังรักษาวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และการทอผ้าไหม ผู้หญิงจะถูกฝึกทอผ้าแพร วาตั้งแต่อายุ 9 - 15 ปี ชาวผู้ไทยที่ทอผ้าแพรวาส่วนใหญ่จะอยู่ที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีภูมิปัญญาในการทอผ้าไหมด้วยการเก็บลาย หรือเก็บขิดแบบจกที่มีลวดลายโดดเด่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและ พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ประกอบการเลือกใช้เส้นไหมน้อย หรือไหมยอดที่มีความเลื่อมมัน ผ้าไหมแพรวาถือว่าเป็นของล้ำค่าและมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์อย่างแท้จริง ดังคำขวัญจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ว่า
เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
คำนิยาม
ผ้าแพรวา เป็นชื่อเฉพาะที่ชาวอีสานทั่วไปเรียกผ้าชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือ ห่มสไบเฉียงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในโอกาสที่มีงานเทศกาล บุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่นๆ
ผ้าแพรวา มีความหมายตามรูปศัพท์ ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำมูล 3 คำ คือ
ผ้า หมาย ถึง วัสดุอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็นผืน ได้จากการเอาเส้นใยของ ฝ้าย ไหม ป่าน ปอ ฯลฯ ซึ่งผ่านกรรมวิธีหลายอย่างเป็นต้นว่า การปั่นเส้นใยทำเป็นเส้นด้าย ย้อมสี ฟอกสี การฟั่นเกลียว การเคลือบผิว ฯลฯ แล้วนำเข้ามาทอเข้าด้วยกันให้เป็นผืนมีขนาดความกว้าง ความยาวแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้สอยประโยชน์ เมื่อทอเสร็จเป็นผืนแล้ว จะเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามชื่อวัสดุที่นำมาใช้ถักทอ เช่น ถ้าทอจากใยฝ้าย เรียกว่า ผ้าฝ้าย หรือถ้าทอจาก เส้นใยไหม เรียกว่า ผ้าไหม
แพร หรือ แพ(ภาษา อีสาน) หมายถึง ผ้าที่ยังไม่ได้แปรรูปให้เป็นเสื้อ หรือซ่ง (โส่งหรือกางเกง) คือยังมีลักษณะเป็นผืนผ้าที่เสร็จจากการทอมักเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตาม ลักษณะวัสดุที่ใช้ เช่น แพรไหม แพรฝ้าย แพรอีโป้ เป็นต้น
วา หมายถึง มาตราวัดความยาวอย่างหนึ่ง ได้จากการกางแขนทั้งสองแขนออกไปจนสุดแล้วทาบกับสิ่งที่ต้องการวัดขนาดความ ยาว ด้วยการทาบลงไปให้แขนตรงเป็นเส้นขนาน ทำอย่างนี้แต่ละครั้งเรียกว่า 1 วา (ต่อมาปรับปรุงมาตราวัดนี้ใหม่ว่า 1 วา มีขนาดเท่ากับ 4 ศอก)
ดังนั้นคำว่า ผ้าแพรวา จึงมีความหมายรวมกันว่า ผ้าทอเป็นผืนที่มีขนาดความยาว 1 วา หรือ 1 ช่วงแขน
ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ หมาย ถึง ผ้าไหมที่ทอประดิษฐ์ลวดลายด้วยการขิด และการจก ใช้เส้นไหมตีเกลียวเป็นทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง รวมทั้งมีเส้นไหมเพิ่มพิเศษในการทำให้เกิดลวดลายตามกรรมวิธีที่ปราณีตของชาว ผู้ไทย ที่เป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสืบกันต่อมา
ผ้าแพรวา เป็นชื่อเฉพาะที่ชาวอีสานทั่วไปเรียกผ้าชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับคลุมไหล่หรือ ห่มสไบเฉียงของชาวผู้ไทย ซึ่งใช้ในโอกาสที่มีงานเทศกาล บุญประเพณีหรืองานสำคัญอื่นๆ
ผ้าแพรวา มีความหมายตามรูปศัพท์ ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำมูล 3 คำ คือ
ผ้า หมาย ถึง วัสดุอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็นผืน ได้จากการเอาเส้นใยของ ฝ้าย ไหม ป่าน ปอ ฯลฯ ซึ่งผ่านกรรมวิธีหลายอย่างเป็นต้นว่า การปั่นเส้นใยทำเป็นเส้นด้าย ย้อมสี ฟอกสี การฟั่นเกลียว การเคลือบผิว ฯลฯ แล้วนำเข้ามาทอเข้าด้วยกันให้เป็นผืนมีขนาดความกว้าง ความยาวแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้สอยประโยชน์ เมื่อทอเสร็จเป็นผืนแล้ว จะเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามชื่อวัสดุที่นำมาใช้ถักทอ เช่น ถ้าทอจากใยฝ้าย เรียกว่า ผ้าฝ้าย หรือถ้าทอจาก เส้นใยไหม เรียกว่า ผ้าไหม
แพร หรือ แพ(ภาษา อีสาน) หมายถึง ผ้าที่ยังไม่ได้แปรรูปให้เป็นเสื้อ หรือซ่ง (โส่งหรือกางเกง) คือยังมีลักษณะเป็นผืนผ้าที่เสร็จจากการทอมักเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตาม ลักษณะวัสดุที่ใช้ เช่น แพรไหม แพรฝ้าย แพรอีโป้ เป็นต้น
วา หมายถึง มาตราวัดความยาวอย่างหนึ่ง ได้จากการกางแขนทั้งสองแขนออกไปจนสุดแล้วทาบกับสิ่งที่ต้องการวัดขนาดความ ยาว ด้วยการทาบลงไปให้แขนตรงเป็นเส้นขนาน ทำอย่างนี้แต่ละครั้งเรียกว่า 1 วา (ต่อมาปรับปรุงมาตราวัดนี้ใหม่ว่า 1 วา มีขนาดเท่ากับ 4 ศอก)
ดังนั้นคำว่า ผ้าแพรวา จึงมีความหมายรวมกันว่า ผ้าทอเป็นผืนที่มีขนาดความยาว 1 วา หรือ 1 ช่วงแขน
ผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ หมาย ถึง ผ้าไหมที่ทอประดิษฐ์ลวดลายด้วยการขิด และการจก ใช้เส้นไหมตีเกลียวเป็นทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง รวมทั้งมีเส้นไหมเพิ่มพิเศษในการทำให้เกิดลวดลายตามกรรมวิธีที่ปราณีตของชาว ผู้ไทย ที่เป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสืบกันต่อมา
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยี่ยมพสนิกรในอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวผู้ไทยแต่งชุดพื้นเมือง ห่มสไบเฉียงแพรวาสีแดง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลได้ทรงพระราชทานเส้นไหมให้แก่ชาวบ้านโพนเพื่อทอผ้า แพรวาถวาย และโปรดรับงานทอผ้าแพรวาของชาวผู้ไทย อำเภอคำม่วงเข้าไว้ในโครงการศิลปาชีพในพระบรมราชินูปถัมภ์และทรงโปรดให้มี การพัฒนาการทอผ้าไหมแพรวา จนทำให้ผ้าแพรวาเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป
ประวัติการทอผ้าไหมในประเทศไทยและการสนับสนุนของทางรัฐบาล
ประวัติศาสตร์ของการทอผ้าไหมที่ใช้เส้นใย จากตัวแมลงที่มีรูปลักษณ์คล้ายหนอน มาถักทอเป็น เสื้อผ้าพัสตราภรณ์สวยงามนั้น บันทึกไว้เสมือนเป็นตำนานที่เล่าขานกันว่า เกิดขึ้นในแผ่นดินจีนประมาณเกือบ ๕,๐๐๐ ปี ตรงกับสมัยพระจักรพรรดิ์หวงตี้ คือ วันหนึ่ง จักรพรรดิ์หวงตี้เสด็จออกไปทรงล่าสัตว์ถึงเขาชีซัน ทรงพบหญิงสาวคนหนึ่งกำลังเลี้ยงตัวไหม และเก็บรวบรวมเส้นไหมจำนวนมากอยู่ใต้ต้นหม่อนใหญ่เชิงเขา พระองค์ไม่เคยทอดพระเนตรมาก่อน และทรงทราบว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ จึงเสด็จเข้าไปหาหญิงสาวผู้นั้น พร้อมรับสั่งถามว่า "ข้าพเจ้าอยากจะเรียนรู้วิธีการเลี้ยงและสาวเส้นไหม ท่านจะสอนให้ข้าพเจ้าได้หรือไม่?" ฝ่ายหญิงสาวตอบว่า "คุณพ่อและคุณแม่ได้สั่งไว้ว่าห้ามสอนผู้ชายที่มิใช่เป็นสามีของตน" เมื่อจักรพรรดิ์หวงตี้ ทรงทราบเช่นนั้น จึงทรงรวบรวมความกล้า ขออภิเษกสมรสกับหญิงสาวผู้นี้ เธอก็คือ เหลยจู่ ที่ตำนานจีนบันทึก เล่าขานกันต่อมาว่าเป็นผู้ค้นพบวิธีปลูกหม่อน เลี้ยงและสาวเส้นไหมนั่นเอง
การปลูกหม่อนเลี้ยง ไหม และทอเป็นผ้าไหมในเมืองจีนถือเป็นความลับที่หวงแหนกันยิ่ง แต่เมื่อจีน ส่งผ้าไหมออกไปขายต่างประเทศตามเส้นทางสายไหมที่ลือชื่อ คนเอเซียที่เป็นเพื่อนบ้านพยายามจะเรียนรู้ ต่อมาประมาณหนึ่งพันปีหลังจากนั้น การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจึงได้แพร่หลายขยายไปยังประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน และอินเดีย
สำหรับประเทศไทย แม้ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ใน พ.ศ.๒๕๑๕ ระหว่างการขุดค้นหาหลักฐานทางโบราณคดีครั้งใหญ่ของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ได้พบหลักฐานที่เป็นผ้าของสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย เป็นการพบโดยบังเอิญ คือได้พบเศษผ้าติดอยู่กับกำไลสำริด ผ้าที่พบนั้นคงมีอายุเท่ากับอายุของกำไล คือ ประมาณ ๒,๔๐๐ - ๒,๘๐๐ ปี ซึ่งอายุจริงของวิธีทำผ้าอาจมีมาก่อน แต่ไม่มีหลักฐานหลงเหลืออยู่ นอกจากที่บ้านเชียงแล้ว การขุดค้นยัง พบหลักฐานเกี่ยวกับผ้าอื่นๆ จำนวนหนึ่ง รวมทั้งไหมด้วย ที่บ้านนาดี จังหวัดอุดรธานี หลักฐานสำคัญที่พบคือ ด้ายที่ใช้เป็นสายของสร้อยคอ ใยปั่นเป็นเกลียวทำเป็นด้าย ผ้าเป็นผืน พบเพียงเศษๆ และเส้นไหมซึ่งมีใย ขนาดต่างๆ กัน ใยหลายเส้นถูกทำให้แบนเหมือนเป็นไหมป่า แสดงว่ามีการใช้ผ้าไหมเป็นของพื้นเมือง ใน ดินแดนแถบนี้มาช้านานแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปได้ทั้งสองทางว่า เมื่อคนไทยอพยพมาจากตอนใต้ของจีน อาจนำ วัฒนธรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมติดตัวมาด้วย และอาจเรียนรู้จากคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว ในดินแดน ภาคพื้นเอเซียอาคเนย์ แต่การเลี้ยงไหมในสมัยโบราณคงไม่ได้ทำกันเป็นล่ำเป็นสันจนถึงกับเป็น สินค้า นอกจากจะเลี้ยงไหมไว้เพื่อทอเป็นเครื่องนุ่งห่มใช้ในครอบครัวเท่านั้น เพราะมีหลักฐานว่า สินค้าที่เรือ สำเภาจีนบรรทุกมาค้าขายกับไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีผ้าแพรไหมรวมอยู่ในบัญชีสินค้า และในราชสำนัก ไทยเจ้านายทรง พัสตราภรณ์ที่ตัดจากผ้าไหมจีน รวมถึงผ้าไหมญี่ปุ่นและผ้าไหมอินเดียด้วย
จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคทอง ของกรุงรัตนโกสินทร์ที่บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้ามาก ในพ.ศ.๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงสนพระทัยเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จึงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงเกษตราธิการดำเนินการส่งเสริมการ เลี้ยงไหม โดยว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น ชื่อ คาเมทาโร โทยาม่า เป็นหัวหน้าคณะ ให้มาสร้างสถานีเลี้ยงไหม ณ ตำบลทุ่งศาลาแดง กรุงเทพฯ และได้ยกแผนกไหมขึ้นเป็น "กรมช่างไหม" ในพ.ศ.๒๔๔๖ โปรดเกล้าฯ ให้ พระราชโอรสที่เสด็จกลับจากอังกฤษ คือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชย มหินทโรดม เป็นอธิบดีกรมช่างไหม ทรงตั้งโรงเรียนช่างไหมขึ้นเพื่อฝึกหัดการทอผ้าไหม ภายหลังเปลี่ยนเป็น โรงเรียนเกษตร ตั้งอยู่ที่วังสระปทุม ด้วย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงมี โรงทอผ้าอยู่ในพระตำหนัก
ใน พ.ศ.๒๔๔๗ ทางราชการได้ตั้งสาขาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์และร้อยเอ็ด เพื่อการสอนการผลิตรังไหมและทอผ้าไหมแก่ชาวอีสาน ซึ่งมีความสามารถในการทอผ้า พื้นเมืองอยู่แล้ว กิจการก้าวหน้าและขยายออกไปสู่จังหวัดต่างๆ เพิ่มขึ้นคือ ศรีสะเกษ มหาสารคาม และชัยภูมิ จนกระทั่งต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๖ การส่งเสริมการเลี้ยง ไหมจึงชะงักและล้มเลิกเพราะมีอุปสรรคมาก เช่น ไหมเป็นโรคตาย ด้วยการผลิตรังไหมเป็นงานประณีตที่ต้อง รักษาความสะอาดเป็นอันดับสำคัญแรกๆ
พ.ศ.๒๔๗๘ ทางราชการได้กลับมาฟื้นฟูการเลี้ยงไหมขึ้นอีก โดยตั้งโรงสาวไหมด้วยเครื่อง จักร ที่สั่งมาจากประเทศอิตาลี ขึ้นเป็นเครื่องแรกที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นศูนย์กลางของเกษตรกรในภาคอีสาน ทั้งภาค แม้ในระยะนั้น มีรายงานว่ามีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมถึงสามแสนครัวเรือน แต่โรงงานต้องประสบปัญหา ด้านวัตถุดิบ เนื่องจากราษฎรไม่ชำนาญในการเลี้ยงไหมพันธุ์ต่างประเทศที่เหมาะจะใช้สาวด้วย เครื่องจักร และ ช่างประจำโรงงานก็ไม่มีความชำนาญพอที่จะดัดแปลงเครื่องจักรให้สามารถสาวรัง ไหมพันธุ์พื้นบ้านได้ ประกอบ กับเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา โรงงานจึงหยุดชะงัก
รัฐบาล ได้ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขึ้นอีกใน พ.ศ.๒๔๙๕ โดยยกฐานะขึ้นเป็นสถานีส่งเสริม การเลี้ยงไหมที่จังหวัดอุบลราชธานี และบุรีรัมย์ ทำการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชน ตั้งแต่วิธีปลูกต้นหม่อน การผสมพันธุ์ไหม การคัดเลือกพันธุ์ ฯลฯ ซึ่งปรากฎว่าพันธุ์ไหมที่เลี้ยงกันในประเทศไทย มีลักษณะค่อนไปทาง พันธุ์ไหมญี่ปุ่น เนื่องด้วยไทยได้ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่นตามแผนโคลัมโบ ตั้งศูนย์วิจัยและอบรมการทอผ้าไหม ที่จังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาระดับสูง เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอน แก่น และวิทยาลัยเกษตรกรรมต่างๆ ทั่วภาคอีสาน ได้เปิดสอนวิชาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างจริงจัง เพื่อ ส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้อย่างเป็นระบบและถูกต้องตามหลักพฤกษศาสตร์ ทำให้วิชาการด้านปลูกหม่อนเลี้ยง ไหมก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จนถึงปัจจุบัน กรมส่งเสิรมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตั้ง "กลุ่มหม่อน ไหม" ขึ้นในกองส่งเสริมพืชสวน มีหน้าที่ดำเนินการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่เกษตรกร