การประดิษฐ์ไหมมัดหมี่แต่ละชิ้น ต้องดำเนินการหลายขั้นตอนด้วยกันตามลำดับ คือ
๑. ต้นหม่อน มี ความสำคัญในการเลี้ยงไหมมาก เพราะใบหม่อนเป็นอาหารอย่างเดียวของตัวหนอน ไหม เริ่มต้นจึงต้องมีการปลูกและดูแลต้นหม่อนให้เกิดใบ ต้นหม่อนเป็นพืชที่ขึ้นง่ายและเจริญเติบโตได้โดยไม่ ต้องอาศัยน้ำมากนัก ถ้าเริ่มปลูกตอนต้นฤดูฝน ต้นหม่อนก็จะสามารถมีชีวิตอยู่ตลอดไป แม้ในฤดูแล้ง ต้นหม่อน ก็ไม่ตาย
๒. ตัวไหม เริ่มเลี้ยง ตั้งแต่ยังเป็นไข่เล็กๆ เท่าปลายเข็ม จนเติบโตเป็นตัวหนอนไหมวัยอ่อน และวัย แก่ ตัวไหมนั้นเป็นหนอนของแมลงจำพวกผีเสื้อชนิดหนึ่ง ที่เมื่อถึงวัยจะผลิตใยไหมออกมาห่อหุ้มตัวเป็นรัง
ไหมพันธุ์พื้นบ้านที่ชาวบ้านเลี้ยงกันอยู่ เป็นพันธุ์ไหมที่ฟักได้ตลอดปี เมื่อตัวหนอนเติบโตจะมี ลักษณะสีขาวนวล และเมื่อแก่ขึ้นก็จะมีสีเหลือง เมื่อทำรัง รังไหมจะเป็นสีเหลือง
การสาวไหม |
รังไหมในจ่อเลี้ยงไหม |
๓. สาวไหม การ เลี้ยงไหมตั้งแต่เป็นไข่ จนกระทั่งเป็นตัวไหมสร้างใยเป็นรัง กินระยะเวลาประมาณ ๔๕ วัน ต่อจากนั้น จึงนำรังไหมมาต้มเพื่อสาวให้เป็นเส้นไหม ชาวบ้านใช้หม้อขนาดตามสะดวก และโดย มาก ทางอิสานใช้หม้อดิน รอบปากหม้อมีวงโค้งยึดขาตั้งสูงเหนือปากหม้อ มีไม้แบนๆ อันหนึ่งเจาะรูตรงกลางวาง พาด เหนือไม้นี้ขึ้นไปมีรอกเป็นเฟืองกลมๆ นำรังไหมใส่ในหม้อต้มน้ำคะเนไม่ให้แน่นเกินไป พอน้ำเดือดสาวเส้น ไหมขึ้นลอดรูไม้แบนที่ปากหม้อ สาวขึ้นมาพันกับรอก ในขณะที่ใช้มือหนึ่งสาวไหมจากรอกลงภาชนะที่รองรับอยู่ ก็ใช้อีกมือหนึ่งถือไม้ง่ามยาวประมาณ ๒ คืบ เรียก "ไม้ขืน" คอยกดและเขย่ารังไหมที่ลอยตัวอยู่ในหม้อ เพื่อทำไม่ให้ไหมแน่น เส้นไหมที่สาวลงในภาชนะรองรับจะเรียบและไม่ยุ่งเหยิง
ใจไหมที่สำเสร็จแล้ว |
๔. ไจไหม นำเส้นไหมที่สาวแล้วมาทำเป็นไจ หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า เปีย เส้นไหมที่ได้มานี้จะเป็น สีเหลือง เรียกว่า ไหมดิบ และมีเส้นแข็ง
การฟอกไหม |
๕. ฟอกไหม ต้องนำไหมดิบ ไปฟอกให้นิ่มและเป็นสีขาว วิธีฟอกไหมนั้น ชาวบ้านไม่ได้ใช้สารเคมี อะไร แต่จะใช้ของอยู่ใกล้ตัว เช่น กาบกล้วย ใบกล้วย งวงตาล ฝักหรือเปลือกเพกา ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่งนำ มาฝานให้บาง ตากแดดให้แห้ง และสุมไฟเผาจนมอดเป็นขี้เถ้า นำเถ้าไปแช่น้ำ ทิ้งไว้ให้นอนก้น รินน้ำออกมา เป็นด่าง นำไหมที่จะฟอกลงแช่ในน้ำด่าง โดยทุบเส้นไหมให้อ่อนตัวเพื่อน้ำด่างจะได้ซึมเข้าได้ง่าย แช่จนไหม นิ่มและขาว จึงนำไปตากแดดให้แห้ง หากไหมยังไม่สะอาดก็นำไปแช่ด่างตามวิธีเดิมอีกครั้งหนึ่ง และนำเส้นไหม ไปตีเกลียวเพื่อควบเส้นไหมให้เป็น ๒ หรือ ๔ เส้น บางครั้งนำมาย้อมสีแรกก่อน จึงนำไปพันใส่หลักหมี่ เพื่อ เตรียมมัดต่อไป
การกรอเส้นไหมใส่หลอด เพื่อเตรียมไว้เข้ากวัก |
๖. กรอเส้นไหมเข้าหลอดเพื่อทำเส้นยืน คือเส้นไหมที่ขึงอยู่ในกี่จะควบ 6,12 และการเข้ากวักทำเส้นพุ่ง คือ เส้นไหมที่อยู่ในกระสวยใช้เวลาในการกรอเส้นไหม ซึ่งทำด้วยมือไม่ใช้เครื่อง
เป็นเวลา 2 วัน
เป็นเวลา 2 วัน
การค้นเส้นไหม |
๗. การค้นเส้นยืนในเฝือ โดยกำหนดว่าจะเอาเส้นไหมยาวเท่าใดตามความต้องการ ส่วนใหญ่นิยมใช้ความยาว 9-27 เมตรการค้นเส้นพุ่งนำเส้นไหมมาค้นใส่แม่สะดึงยาวตามความกว้าง
ของหน้าฟืม ต้องเรียงเส้นไหมให้ได้ 4,500 เส้น ตามลายหมี่จำนวนปอยขนาด 17-19-21-25-29-35-39 ใช้เวลาในการค้น 5-6 ชั่วโมง
ของหน้าฟืม ต้องเรียงเส้นไหมให้ได้ 4,500 เส้น ตามลายหมี่จำนวนปอยขนาด 17-19-21-25-29-35-39 ใช้เวลาในการค้น 5-6 ชั่วโมง
การมัดลายไหม |
การมัดลายไหม หรือการมัดหมี่
วัสดุ
๑. เส้นด้ายไหม
๒. เส้นด้ายฝ้าย
๓. หรือเส้นใยสังเคราะห์
๔. สีย้อมผ้า
วิธีการทำ
มัดหมี่ หมายถึง ลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้า โดยมีวิธีการดังนี้
๑. นำเส้นไหมที่จะทำเป็นเส้นพุ่งไปมัดลายตามที่ต้องการแล้วนำไปย้อมสี เรียกว่า มัดหมี่
๒. ด้ายเส้นยืนที่ย้อมสีหรือไม่ย้อมก็ได้ ประมาณ ๔๐ - ๕๐ เส้น จัดทำไว้ที่กี่ให้ยาวตามต้องการ
๓. เมื่อทำการทอ จะใช้เส้นพุ่งทำเป็นลวดลายตามต้องการ เช่น นาค โคม หรือดอกพิกุล ฯลฯ
การประยุกต์ใช้
ปัจจุบันชาวบ้านนาขุมจะหันมาซื้อเส้นด้ายที่มีจำหน่ายในท้องตลาด และเส้นใยสังเคราะห์แล้วนำไปย้อมสีเอง มีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าและการจัดการที่เป็นรูปธรรม มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แนะนำในการพัฒนาสี ลาย และการตลาด ผ้าทอที่สำเร็จรูปแล้วจะนำมาใช้เป็นผ้านุ่ง เสื้อ กระเป๋า ซองจดหมาย ตกแต่งบ้าน ผ้าปูโต๊ะ และอื่น ๆ ตามความต้องการของตลาด
วัสดุ
๑. เส้นด้ายไหม
๒. เส้นด้ายฝ้าย
๓. หรือเส้นใยสังเคราะห์
๔. สีย้อมผ้า
วิธีการทำ
มัดหมี่ หมายถึง ลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้า โดยมีวิธีการดังนี้
๑. นำเส้นไหมที่จะทำเป็นเส้นพุ่งไปมัดลายตามที่ต้องการแล้วนำไปย้อมสี เรียกว่า มัดหมี่
๒. ด้ายเส้นยืนที่ย้อมสีหรือไม่ย้อมก็ได้ ประมาณ ๔๐ - ๕๐ เส้น จัดทำไว้ที่กี่ให้ยาวตามต้องการ
๓. เมื่อทำการทอ จะใช้เส้นพุ่งทำเป็นลวดลายตามต้องการ เช่น นาค โคม หรือดอกพิกุล ฯลฯ
การประยุกต์ใช้
ปัจจุบันชาวบ้านนาขุมจะหันมาซื้อเส้นด้ายที่มีจำหน่ายในท้องตลาด และเส้นใยสังเคราะห์แล้วนำไปย้อมสีเอง มีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าและการจัดการที่เป็นรูปธรรม มีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แนะนำในการพัฒนาสี ลาย และการตลาด ผ้าทอที่สำเร็จรูปแล้วจะนำมาใช้เป็นผ้านุ่ง เสื้อ กระเป๋า ซองจดหมาย ตกแต่งบ้าน ผ้าปูโต๊ะ และอื่น ๆ ตามความต้องการของตลาด
ไหมที่มัดหมี่แล้วนำไปแช่น้ำแล้วนำขึ้นตากจะได้สีที่เสมอกัน |
การนำเส้นไหมที่มัดหมี่แล้วไปแช่น้ำเพื่อให้น้ำซึมเข้าเส้นหมี่โดยใช้เวลา แช่น้ำตั้งแต่ 3 ชม. ขึ้นไปแล้วจึงทำการย้อมสีพื้นเส้นไหมมัดหมี่ เหตุที่นำเส้นไหมไปแช่น้ำเพราะว่าจะทำให้ได้
สีเสมอกัน
สีเสมอกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น